head-banrongjaroen-min
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านร่องเจริญ
วันที่ 9 เมษายน 2024 8:17 AM
head-banrongjaroen-min
โรงเรียนบ้านร่องเจริญ
19

นายสุรพล อบมายันต์

ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านร่องเจริญ

โรงเรียนบ้านร่องเจริญ

โรงเรียนบ้านร่องเจริญ

โรงเรียนบ้านร่องเจริญ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านบึง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อ โรงเรียนบ้านห้วยท่าเคย และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนบ้านร่องเจริญ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ( ได้รับจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านคาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยแยกออกมาจากอำเภอสวนผึ้ง )
ทิศเหนือ ติดที่ดินของนายเลี้ยง อินทร์แหยม
ทิศใต้ ติดที่ดินของนายสมชาย อิมราพร
ทิศตะวันออก ติดลำห้วยท่าเคย
ทิศตะวันตก ติดที่ดินของนายสมชาย อิมราพร
โรงเรียนบ้านร่องเจริญสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยมีนายเกษม กิติบำรุง เป็นปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอสวนผึ้ง สมัยนั้น ได้ร่วมปรึกษาหารือกับนายสมชาย  อิมราพร และประชาชน เกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน
ต่อมาทางอำเภอสวนผึ้งไดรายงานให้นายวัชระ  สิงควิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ทราบและอนุญาตให้สร้างโรงเรียนได้ โดยนายสมชาย อิมราพร ได้บริจาคที่ดินจำนวน 30 ไร่ ให้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนและบริจาคเงินพร้อมวัสดุคิดเป็นมูลค่าในการก่อสร้าง 300,000 บาท โดยสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นเป็นดิน ขนาดตัวอาคารกว้าง 9 เมตร ยาว 30 เมตรมีทั้งหมด 6 ห้องเรียน ห้องเรียนขนาด 6 x 6.5 เมตร
โรงเรียนบ้านร่องเจริญได้เริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยมีนายศิริ อุ่นเรือน รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ มีนายชลอ เปลี่ยนแก้ว นางมุกดา ยศวิปาน เป็นครูประจำชั้น ต่อมานายชะลอ เปลี่ยนแก้ว ได้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และในปี 2524 นายนิกร มณีโชติ ได้กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งครูใหญ่ ในปี 2525 นายนิกร มณีโชติ ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปโรงเรียนสินแร่สยาม  ต่อมา  นายไพศาล ศรีเพ็ชร์ธาราพันธ์ ได้รับคำสั่งให้ย้ายมารับตำแหน่งครูใหญ่ในปี 2525 ณ โรงเรียนบ้านห้วยท่าเคย ( เปลี่ยนเป็นโรงเรียนบ้านร่องเจริญในปัจจุบัน ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้รับการประเมินให้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ ในปี พ.ศ. 2540 ( 30 ธันวาคม 2540 ) ได้รับการประเมินให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนจนถึงปี 2555   และ ปัจจุบันมีนายสุรพล อบมายันต์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในปี พ.ศ. 2556

ปรัชญาโรงเรียน
“รักดุจลูกหลาน  บริการดุจญาติมิตร เพื่อชีวิตพัฒนา ”
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านร่องเจริญจัดการศึกษาให้นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม รักสิ่งแวดล้อมและมีสุขภาพดี ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์มาตรฐานชาติ
2.ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.ส่งเสริมพัฒนาครู และนักเรียนให้มีความรู้ คุณธรรมและจริยธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
4.ส่งเสริมและพัฒนาพลานามัยนักเรียนด้านร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์
5.ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพโดยยึดหลักปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

นานาสาระ

เรื่อง 7 มารยาทในการใช้รถใช้ถนน

ถนนเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ณ ปัจจุบันถนนถูกใช้เพื่อรองรับการเดินทางด้วยรถยนต์ จักรยาน และการเดินเท้า เมื่อปัจจุบันมีการสัญจรไปมาของผู้ใช้ถนนเยอะขึ้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับเพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น การสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ จักรยานยนต์ รวมถึงอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างหมวกกันน็อค ยังมีเครื่องหมาย สัญลักษณ์และป้ายจารจรเกิดขึ้นมากมายเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน อย่างไรก็ดี แม้จะมีกฎหมายบังคับใช้อยู่ แต่ในบางครั้งก็ไม่อาจลงโทษผู้กระทำความผิดได้ทั่วถึง เราจึงจำเป็นต้องเริ่มด้วยการปลูกฝังจิตใต้สำนึกและให้ความรู้ผู้ใช้ถนน ในบทความนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึงมารยาทการใช้ถนน ซึ่งเป็นสิ่งช่วยเตือนสติเราให้ระวังตัวเองและผู้อื่นแม้ตรงนั้นจะไม่มีกฎหมายบังคับ หรือจริง ๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของคุณและส่วนรวม

 

1.ขับช้าอยู่ซ้าย เลนขวาไว้แซง สำหรับผู้ใช้รถยนต์ จักรยาน โดยหลักแล้วถนนจะแบ่งเป็นสองเลน สำหรับการขับรถปกติเราควรอยู่เลนซ้าย พอถึงเวลาจะแซงคันข้างหน้า หรือแยกต่อไปเราจึงเปลี่ยนไปทางขวา หลักๆคือควรชิดซ้ายอย่าไปขวาหากไม่จำเป็น เมื่อเราอยู่เลนขวาไม่ควรแช่อยู่เลนนั้นนานเกินไปเพราะรถคันด้านหลังอาจต้องการแซงเหมือนกัน เมื่อเราแซงได้แล้วก็ให้เปลี่ยนกลับไปอยู่เลนซ้ายเหมือนเดิม แต่ถ้าเราเจอถนนหนึ่งเลนแล้วมีเส้นทึบสีเหลืองเราไม่ควรแซงเลย เพราะเป็นเส้นทางอันตรายไม่เหมาะแก่การแซง แต่หากเป็นเส้นเหลืองปะ เราสามารถแซงได้แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการแซงแต่ละครั้ง เพราะถนนอีกฝั่งอาจมีรถสวนมาได้ หากถนนนั้นมีตั้งแต่สามเลนขึ้นไป ถ้าเราขับรถปกติก็ให้อยู่ตรงกลาง เพื่อไม่รบกวนเลนอื่นๆ

 

2.ทิ้งระยะจากคันข้างหน้า การขับรถให้ชิดท้ายคันข้างหน้าไม่ได้ก่อให้เกิดข้อดีอะไร หนำซ้ำยังก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย เพราะเราจะเหลือระยะห่างสำหรับการเบรกอย่างกะทันหันน้อยลงไปอีก อาการลักษณะนี้สามารถเกิดได้เพราะผู้ขับยังไม่ชินกับการกะระยะ หรือในขณะที่รถติดไฟสัญญาณจราจร รถแต่ละคันจะพยายามจอดชิดๆกันไว้ ทั้งที่อันที่จริงไม่ต้องชิดขนาดนั้นก็ได้ เว้นไว้สักครึ่งตัวรถหรือหนึ่งเมตรก็ดี เว้นแต่จะต้องการพื้นที่จริง ๆ จึงค่อยๆขยับเข้าไปใกล้คันข้างหน้าบ้างเพื่อให้มีพื้นที่ ในขณะขับขี่นั้นผู้ขับอาจจะรู้สึกว่าตัวเองขับช้าไป พยายามเข้าไปใกล้ท้ายคันด้านหน้า เพื่อไม่ได้ตัวเองถูกกดดันจากคันด้านหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่เสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุมากๆ

 

3.ไม่เลี้ยวกินเลนอื่น ช่วงที่เราต้องการเลี้ยวเข้าซองทั้งซ้าย และขวา หรือเวลาจะเลี้ยวเพื่อเข้าถนนใหญ่ หรือเลี้ยวเพื่อกลับรถ เราควรรักษาระยะรถของเราให้อยู่ในเลนที่เราจะเข้าเท่านั้น ไม่ไปกินหรือเบียดเลนข้างๆ เพราะตรงนั้นอาจมีรถสวนมาได้ เนื่องจากผู้ขับขี่อื่นต่างกะไว้แล้วว่าเราจะใช้พื้นที่แค่นี้ก็เพียงพอในการเลี้ยว ผู้ขับขี่คนอื่น ๆก็จะปล่อยเลนนั้นให้วางแล้วไปใช้อีกเลนแทนเพื่อความปลอดภัย

 

4.ใช้ไฟสูงให้เหมาะสม ไฟสูงใช้ในกรณีที่ทัศนียภาพย่ำแย่มองได้ไม่ไกลเท่านั้น เช่น เมื่อฝนตกหนักฟ้ามืด ทางข้างหน้าไม่มีแสงไฟมากพอ หรือตอนกำลังขึ้นเนินสูงๆ แต่มีหลายคนยังเลือกใช้ไฟสูงในเวลาขับทางตรงราบปกติ เพราะทำให้ทางสว่างมากและมองได้ไกล แต่แสงนั้นก็สว่างเกินจนสามารถเข้าตาของรถที่ขับสวนมาได้ นึกสภาพห้องมืดๆแล้วมีแสงยิงเข้ามาที่ตาตรงๆ แบบนั้นเป็นการไปรบกวนการขับขี่ของคนอื่นไม่ใช่น้อย ดีไม่ดีอาจทำให้ผู้ขันคนอื่นเสียการควบคุมรถแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นตามมา มีการใช้ไฟสูงเปิดกระพริบสั้นๆ ไม่ใช่การขอทางแต่เป็นการบอกว่า ให้รถที่จะเลี้ยวเข้าเลน หรือจอดรออยู่ไปได้หรือเรียกว่า การให้ทางซึ่งตรงข้ามกับขอทาง ปัจจุบันมีการใช้สัญญาณนี้แบบ ‘ขอทาง’ จากรถคันอื่น ว่าขอไปก่อน ซึ่งนั่นไม่ถูกต้องและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ดีหากคุณเห็นคนเปิดไฟสูงกระพริบแล้วขับมาด้วยความเร็วก็ให้หยุดก่อนเพราะอีกฝ่ายกำลังสื่อว่าเขาขอทางจากคุณอยู่ แต่ถ้าขับช้าๆหรือหยุดก็แปลว่าให้เราไปก่อน

 

5.หยุดรถทางม้าลาย ทางม้าลายมีไว้เพื่อให้คนข้าม และผู้ขับรถจำเป็นต้องให้เกียรติคนที่กำลังใช้ไปก่อน อย่างไรก็ดี ใช่ว่าเราต้องหยุดรถทันทีเพราะเราต้องดูรถข้างหลังของเราด้วยว่ามีใครตามมาหรือไม่ ถ้าเราหยุดแล้วเขาจะสามารถหยุดได้หรือเปล่า เวลาจะเบรกก็ค่อยๆชะลอลดความเร็วอย่างช้า ๆ ในเวลาที่คำนึงถึงคันที่ตามว่ามาเขามีเวลามากพอจะหยุดได้เช่นกัน แต่ถ้าหยุดไม่ได้จริง ๆ ก็ค่อยๆขับผ่านไป ห้ามใช้ความเร็วเร่งตัดหน้าคนที่กำลังจะเดินบนทางม้าลาย และต้องระวังไม่ให้รถโดนคนบนทางม้าลายด้วย

 

6.เปิดไฟเลี้ยว รถยนต์หรือมอเตอร์ไซต์มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าไฟเลี้ยว เป็นสิ่งที่ใช้บอกกับคนอื่นว่าเราจะขับรถหักเลี้ยวไปทางใด เพื่อให้คนอื่นทราบและจะรับมือได้ถูกต้อง ไฟเลี้ยวใช้ในกรณีที่เราต้องการเปลี่ยนเลน หรือแซงคันด้านหน้า เป็นการบอกว่าตัวเองกำลังจะเลี้ยวเข้าทางขวาหรือทางซ้าย เวลาใช้ก็ควรบอกก่อน 30 เมตร หรือที่มีพื้นที่ความห่างประมาณรถยนต์จอดอยู่ 10 คัน

 

7.หลบให้รถฉุกเฉินที่เปิดสัญญาณไฟและเสียงผ่านไปก่อน เวลาเราเห็นรถพยาบาลกำลังขับมาในเลนของเรา พร้อมเปิดไซเรนเราควรให้ทางเขาไปก่อน โดยปกติเลนซ้ายเป็นเลนที่มอเตอร์ไซต์ใช้กันและมักจะโล่งกว่าเลนอื่นๆ รถฉุกเฉินจึงมักเลือกใช้เลนนี้เป็นหลักหากคุณกำลังอยู่เลนซ้ายที่กำลังมีรถฉุกเฉินวิ่งมาก็พยายามเบียดชิดซ้ายให้มากที่สุด ส่วนเลนที่เหลือเขาจะเคลื่อนไปทางขวากันเอง อีกทั้งเวลาจอดไฟแดงประเทศไทยการเลี้ยวซ้ายแทบทุกที่สามารถผ่านไปได้โดยไม่ต้องรอไฟแดงแล้ว ตามปกติแล้วก็ไม่ควรมีรถมจอดแซ่เลนซ้ายในเวลาที่ติดไฟแดงเช่นกัน เพราะจะไปขวางทางจราจรของคนที่อยากเลี้ยวซ้าย และรถพยาบาลที่ใช้ทางนี้เป็นหลัก สำหรับ 7 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นมารยาทส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้ถนนควรปฏิบัติตามเพื่อความสะดวกสบาย และความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไปข้างต้นว่าเราควรป้องกันไม่ให้เกิดเหตุใด ๆ ขึ้นบนถนนเป็นดี ไม่ว่าจะเพราะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด หรือจะผิดที่สภาพแวดล้อมก็ตาม อย่างแรกที่ต้องระวังให้มากคือตัวเราเอง แม้จะเป็นการทำเกินสิ่งที่กฎหมายต้องการก็ตาม

โรงเรียนบ้านร่องเจริญ
โรงเรียนบ้านร่องเจริญ
โรงเรียนบ้านร่องเจริญ
โรงเรียนบ้านร่องเจริญ